
ประกาศ
การปิดการให้บริการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์
ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2560
เพื่อเป็นการซ่อมบำรุง รักษาระบบต่างๆ
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เปิดให้บริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 17.00 น.
ปิดให้บริการทุกวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : 0-4387-1014 , 0-4387-1612-6
![]() |
ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ (พระญาณวิศาลเถร รอง เจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน) ต่อมาคณะสำรวจจากฝ่ายชีววิทยา กองธรณีวิทยา (ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ซึ่งเป็นสำนักธรณีวิทยาในปัจจุบัน) ได้มาขุดสำรวจจนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๓๘ พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืชมากกว่า ๖ ตัว มีกระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิ้น ภายในเวลาเพียง ๓ เดือน ซึ่งซากไดโนเสาร์นั้นมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักและมีจำนวนมาก ทางฝ่ายโบราณชีววิทยา จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติภูกุ้มข้าวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ |
![]() |
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๘ กรมทรัพยากรธรณีได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เพื่อบริการและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเป็นสถานที่ใช้ศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลกที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” เมื่อวันที่๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกอย่างละ ๒ ชนิด ![]() ![]() |
พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีทั้งหมด ๘ โซนดังต่อไปนี้ โซนที่ ๑ จักวาลและโลก จักวาล โลก สิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลี้ลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือ “บิ๊กแบง” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล การกำเนิดของดาวฤกษ์และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก สัณฐานธรณีต่าง ๆ บนโลกรวมทั้งหินต่าง ๆ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา ตลอดช่วงเวลา๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมาของโลก ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา โซนที่ ๒ เมื่อสิ่งมีชีวิตแรกปรากฏ ความอิ่มตัวในน้ำภายในชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝน โดยน้ำฝนจะชะล้างเอาแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกันเป็นซุบข้นทางเคมี เมื่อราว ๓,๔๐๐ ล้านปีก่อน ได้มีการเกิดฟ้าผ่าลงไปยังซุบข้น ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว โดยพวกมันได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลกจากที่เคยไม่มีออกซิเจนมาเป็นอุดมด้วยออกซิเจนคล้ายกับพืชในปัจจุบัน โซนที่ ๓ มหายุคพาลีโอโซอิก แบ่งออกเป็นทั้งหมด ๖ สมัย คือ โซนที่ ๔ มหายุคมีโซโซอิค โซนที่ ๕ วิถีชีวิตของไดโนเสาร์ การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ “ซอริสเซียน” ไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เทอโรพอด ไดโนเสาร์กินเนื้อ และเซอโรพอด ไดโนเสาร์กินพืช “ออร์นิธิเชียน ” ไดโนเสาร์สะโพกแบบนก แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ไทรีโอโพแรน ไดโนเสาร์หุ้มเกราะออร์นิโธพอด ไดโนเสาร์ปากจะงอย และมาร์จิโนเซฟาเลียน ไดโนเสาร์หัวเกราะ โซนที่ ๖ คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ สิ้นมหายุคมีโซโซอิก เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ครั้งใหญ่ นัก วิทยาศาสตร์ต่างพากันสันนิษฐานสาเหตุเอาไว้ได้หลายสาเหตุ เช่น อุกกาบาตพุ่งชนโลก, ภูเขาไฟระเบิด,การคุกคามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, และสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนทิศทาง โซนที่ ๗ มหายุคชิโนโซอิก หรือมหายุคแห่งชีวิตยุคใหม่ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ ๖๕ ล้านปี มาแล้วจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ ยุคคือ ยุคพาลีโอจีนและยุคนีโอจีน โซนที่ ๘ เรื่องของมนุษย์ จาก “ไพรเมต” หรือสัตว์ในตระกูลลิง ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่ เมื่อประมาณ ๗ – ๖ ล้านปีที่แล้ว และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน ๒ ขา และอาศัยบนพื้นดินแต่ความโดดเด่น ของมนุษย์อยู่ที่พัฒนาการทางสมอง และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์ พิพิธภัณธ์สิรินธร
|