043-871-566 , 043-871-096

เทศบาลตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

พระพุทธเจดีย์ศรีสัตตราช (เจดีย์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) 

ระพุทธเจดีย์ศรีสัตตราช (เจดีย์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)   สร้างขึ้นจากแนวความคิดของพุทธบริษัทที่มุ่งการสร้างเจดีย์หรือพระธาตุเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุซึ่งนับว่าเป็นการสร้างปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของชาวพุทธในประเทศไทยในเบื้องต้น วัดเวฬุวันจึงมีโครงการสร้างองค์เจดีย์ขนาดไม่ใหญ่นักใช้งบประมาณ ๕ ล้านบาท เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำเป็นพิพิธภัณฑ์เท่านั้น  แต่หลังจากที่พระเดชพระคุณพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พนฺธุโล )แห่ง วัดป่าบ้านหนองแสง จังหวัดยโสธร พร้อมคณะศิษย์เริ่มโครงการสร้างพระพุทธสิริสัตตราช จำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)เพื่อช่วยเหลือวิกฤตของชาติด้านเศรษฐกิจที่คุกคามประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพื่อให้บารมีของพระพุทธสิริสัตตราชปกปักรักษา คุ้มครองประชาชนคนไทยที่เคารพศรัทธา ให้ผ่านพ้นวิกฤตคืนสู่ความสันติสุขโดยเร็วโดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2541 จนปัจจุบันได้สร้างพระพุทธสิริสัตตราชจำลอง ประดิษฐานตามวัดหน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชน
หลายแห่งในภูมิภาคต่างๆของประเทศ รวมทั้ง ณ เขื่อนสำคัญต่างๆเช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ เป็นต้น เป็นจำนวนกว่า 101 องค์ สำหรับพระพุทธสิริสัตตราชจำลอง วัดเวฬุวัน ที่ประดิษฐานเป็นพระประธานในเจดีย์นี้พระครูสิทธิวราคม(นิคม นิคมวโร)เจ้า อาวาสวัดเวฬุวัน จึงได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นองค์แรกของโครงการ มีขนาดหน้าตัก 89 นิ้วโดยที่พระพุทธสิริสัตตราชนี้ เป็นพระคู่บารมีของหลวงปู่สอ พนฺธุโลประธาน ดำเนินงานฝ่ายสงฆ์ มีความศักดิ์สิทธิ์และมีพุทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ของผู้ที่เคารพศรัทธาเป็น อย่างยิ่ง องค์จำลองนี้ก็มีขนาดใหญ่มากจึงมีแนวความคิดว่าน่าที่จะสร้างเจดีย์เพื่อประดิษฐานองค์หลวงพ่อเจ็ด กษัตริย์จำลองให้มีขนาดใหญ่โตมากขึ้นกว่าแนวคิด เดิม เพื่อความเหมาะในการใช้ประโยชน์ แต่คงไว้ซึ่งความสวยงามเรียบง่าย รักษาไว้ซึ่งศิลปะแถบลุ่มแม่น้ำโขงขณะเดียวกันก็ถือเป็นโชคดี เป็นสิริมงคล และเป็นเกียรติประวัติแก่ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วยอนึ่งในระหว่างที่ท่านเจ้าอาวาสยังเที่ยวธุดงค์ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับครูบาอาจารย์ต่างๆสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตก็ได้รับพระอรหันตธาตุและอัฐิของครูบาอาจารย์สายกรรมฐานไว้บูชาจำนวนหลายรูป เช่น พระธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโมหลวงปู่มหาบุญมี สิริปุญโญ และพระธาตุหลวงปู่หล้า เขมปตฺโตเป็นต้น  จึงเห็นสมควรจัดทำพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพุทธศาสนาแก่ ผู้สนใจทั่วไป ด้วยแนวคิดและเหตุผลดังกล่าวนี้ การก่อสร้างเจดีย์จึงมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพิพิธภัณฑ์อยู่ภายในเจดีย์ด้วย

แชร์เรื่องนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ข่าวอื่นๆ